ใครเป็นใคร? ในศาลเยาวชนและครอบครัว
ศาลเยาวชนและครอบครัวทั่วประเทศจะมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนผู้มีคดีโดยจะแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ 1. ฝ่ายตุลาการ มีผู้พิพากษาประจำ และผู้พิพากษาสมทบ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับ การพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในเขตอำนาจผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมกำหนดในระเบียบและต้องมีคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามต่อไปนี้ คือ มีอัธยาศัยและความประพฤติเหมาะสม ที่จะปกครองและอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนผู้พิพากษาสมทบ คือบุคคลธรรมดาซึ่งได้รับการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงและมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโดยมีอำนาจหน้าที่เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีเด็กและเยาวชน ในคดีอาญาและคดีครอบครัวกฎหมายอื่นที่ถือเป็นความผิดอาญา ร่วมกับผู้พิพากษาประจำซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 1.1 มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ 1.2 มีหรือเคยมีบุตร หรือเคยอบรมเลี้ยงดูเด็ก หรือเคยทำงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์หรือการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี 1.3 มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการศาลยุติธรรมได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม เว้นแต่พื้นฐานความรู้ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่าหรือเคยเป็นผู้พิพากษาสมทบ 1.4 มีความสุขุมรอบคอบ ทัศนคติ อัธยาศัยและความประพฤติเหมาะสมแก่การพิจารณาคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว 1.5 ไม่เป็นข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาพ หรือทนายความ 2. ผู้ประนีประนอมคดีครอบครัว คือ บุคคลผู้ผ่าน การอบรม ฝึกปฏิบัติและผ่านการทดสอบในสาขาวิชาการ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเจตนารมณ์ของศาลเยาวชนและ ครอบครัว การพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว และ วิธีการไกล่เกลี่ยคดีครอบครัว เพื่อให้ได้ผู้ประนีประนอม คดีครอบครัวที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์พร้อม ในการเข้ามาเป็นคนกลางช่วยเหลือ แนะนํา เสนอแนะ หาทางออกในการยุติหรือระงับข้อพิพาทในคดีครอบครัว 3. ฝ่ายธุรการ มีผู้อำนวยการศาล และข้าราชการธุรการของศาล ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านธุรการของศาลทั่วไป เช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายงานคดี ฝ่ายรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีบุคลากรจากหน่วยงานอื่นที่สำคัญและต้องเกี่ยวข้องกับการกระบวนการพิจารณาคดีในศาลเยาวชนและครอบครัว ได้แก่ อัยการ ที่ปรึกษากฎหมาย พนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานคุมประพฤติ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน นักจิตวิทยา เป็นต้น
เครดิตภาพ : ไทยรัฐออนไลน์