top of page

ไขความลับ ! ทำไมตำรวจขยันตั้งด่านจับปรับ - สารพัดข้อหา ??


หลายคนคงเคยได้ยินได้ฟังมาบ้างกรณี จนท.ตำรวจ ถูกสังคมตั้งคำถามในทำนอง ทำไมขยันจับแต่คดีเล็กน้อย ตั้งด่าน จัดสารพัดข้อหาให้ชาวบ้านอย่างเราๆ เป็นไม้เบื่อไม้เมากับวัยรุ่นมาเนิ่นนาน และจะสังเกตุว่าล้วนแต่เป็นคดีประเภทมี "โทษปรับ" ทั้งนั้น ทำไมไม่เอาเวลาไปไล่จับโจรผู้ร้าย ผู้ก่ออาชญากรรมตัวจริงๆที่มีเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด ข้อคำถามเหล่าหนี้ก่อให้เกิดเป็นความหงุดหงิดครางแครงใจของผู้คนไม่น้อย

ว่ากันว่าตำรวจอาจมีผลประโยชน์ได้-เสีย เป็นเงินจำนวนไม่น้อยจากการจับปรับเหล่านี้ จึงทำให้ขยันเป็นพิเศษ ต่างจากคดีบางประเภทที่แม้จะเป็นความทุกข์ร้อนของประชาชน แต่คดีกลับไม่เดินหน้า เพราะเป็นคดีความที่มีโทษจำคุกและมักไม่ใช่ความผิดที่ จนท. ตำรวจจะสามารถทำการเปรียบเทียบปรับได้เอง

บางคนอาจแย้งว่า "เงินค่าปรับ" ที่มีใบเสร็จรับเงินอย่างถูกต้องเป็นเงินเข้าหลวงไม่น่าจะมีแรงจูงใจต่อ จนท. นะ (นี่ไม่เกี่ยวกับค่าปรับแบบไม่มีใบเสร็จ) ดังนั้นลองมาดูกันว่า อะไรคือแรงจูงใจให้ จนท. ตำรวจ ขยันทำงานในบางเรื่องทั้งในลักษณะตรงไปตรงมาตามหน้าที่ จนถึงขนาดอาจมีการยัดข้อหาสารพัดแก่ประชาชนบ้าง

คำตอบของเรื่องนี้ อยู่ที่ ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องเงินสินบนและเงินรางวัล วิธีปฏิบัติในการจ่ายเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำการจับกุม ได้รับเงินรางวัลจากการทำหน้าที่จับกุม เป็นเงินได้นอกเหนือจากเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงตามปกตินั่นเอง

เงินสินบนและเงินรางวัล มาจากไหน?

คำตอบคือ มาจากเงินค่าปรับทั้งในส่วนที่ จนท.ตำรวจทำการเปรียบเทียบปรับเอง และ(คนส่วนใหญ่อาจไม่เคยทราบว่า) ==> รวมทั้งเงินค่าปรับที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษปรับจำเลยด้วย (กรณีส่งฟ้องศาล)

หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินค่าปรับ โดยสรุปดังนี้

  • เงินค่าปรับ /เรียกเก็บ (ไม่มีใบเสร็จรับเงิน) => ? - ไม่มีข้อมูล -

  • เงินเปรียบเทียบปรับ (มีใบเสร็จรับเงินถูกต้อง) แบ่งเป็น 3 ส่วน

- ส่งให้กทม. หรือ เทศบาล 50 %

- เก็บไว้เป็นเงินรางวัล 47.5 %

- ส่งเข้ากองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา และส่งคลังแผ่นดิน => 2.5%

  • เงินที่ศาลสั่งลงโทษปรับจำเลย (กรณีส่งฟ้องศาล)

- ให้ ผกก. / หัวหน้าสถานีฯ ยื่นขอรับเงินค่าปรับนั้นมาจัดสรรในสัดส่วนเดียวกันกับเงินเปรียบเทียบปรับ

จะเห็นได้ว่าเบื้องต้นเงินค่าปรับจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งจะถูกจัดไว้เป็นเงินรางวัลสำหรับ จนท. และยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเงินที่จะนำมาจัดสรรเป็นเงินรางวัลไม่เพียงพอให้ขอเพิ่มเติมจากส่วนของ กทม./เทศบาลได้อีก เรียกว่า "เงินอุดหนุน"

เงินค่าปรับเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้มาจากการกวดขันจับกุมผู้ขับขี่ยานพาหนะตาม พรบ.จราจรทางบก, พรบ.รถยนต์, พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตัวอย่างข้อหา ได้แก่ ไม่สวมหมวกกันน็อค ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่แสดงใบขับขี่ ฝ่าไฟแดง จอดในที่ห้ามจอด ตัดแปลงสภาพรถ ไม่ล้างรถ หรือแม้กระทั่ง แต่งตัวไม่สุภาพ หน้าตากวนโอ๊ย ฯลฯ ข้อหาเหล่านี้เป็นข้อหายอดนิยม และ เจ้าพนักงานมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ (ไม่ต้องส่งฟ้องศาล)

แต่ยังมีบางข้อหาที่จะต้องส่งฟ้องศาล เพื่อให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินคดี และสั่งลงโทษจำคุก-ปรับ ผู้ต้องหา เช่น ข้อหาเมาแล้วขับ หรือ ขับเสพ เป็นต้น ซึ่งข้อหาเหล่านี้จะมีค่าปรับเป็นจำนวนเงินสูง และแน่นอนว่าเงินรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่ก็สูงตามไปด้วย คิดเป็นเงินรางวัลคดีละหลายพันบาท

นี่อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่เป็นคำตอบว่า ทำไม จนท.ตำรวจแต่ละท้องที่จึงขยันเป็นพิเศษกับการกวดขันจับกุม และจัดข้อหาให้ประชาชนได้ชนิด "เจอเป็นต้องจ่าย" แม้จะพยายามปฏิบัติตามกฎหมายแต่ตำรวจก็สามารถหาข้อหาแปลกๆ มาสมณาคุณอยู่มิได้ขาด จนกลายเป็นไม้เบื่อไม้เมากับผู้ใช้รถใช้ถนนมาโดยตลอด

คราวหน้าจะมาพูดถึง "ผลกระทบ" อีกด้านหนึ่งที่เกิดขึ้นกับประชาชน เนื่องมาจาก จนท. บางคนใช้วิธี "ยัดข้อหา" ให้กับประชาชนผู้บริสุทธิ... โปรดติดตาม !

*******************

(ข้อหาฝ่าฝืนสัญญาณไฟเขียว)

(ข้อหา คนซ้อนท้ายไม่มีใบขับขี่ ฮา...)

(ข้อหาแต่งกายไม่สุขภาพเรียบร้อย)

(ข้อหา ไม่มียางอะไหล่)

แท็ก:

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • w-facebook
  • Twitter Clean
  • w-googleplus
  • W-Pinterest

© 2015 by สารเยาวชนและครอบครัว. Proudly created with Wix.com

bottom of page