top of page

กฎหมายคุ้มครองเด็ก ! (ที่ผู้ใหญ่ต้องอ่าน)

11.jpg

ปัญหาเด็กถูกทารุณกรรม ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม จากบุคคลรอบข้างหรือแม้แต่จากพ่อ-แม่-ผู้ปกครอง เป้นผู้กระทำเสียเองยังมีให้เห็นอยู่เนืองๆในสังคม หลายคนเข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของลูกใครลูกมัน พ่อ-แม่ผู้ปกครองจะจัดการกับเด็กอย่างไรก็ได้ คนภายนอกไม่มีสิทธิยุ่งเกียวใดๆ

นั่นเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ความจริงแล้วประเทศไทยมี พรบ.คุ้มครองเด็ก ที่ผู้ใหญ่ควรจะต้องทราบว่าแต่ละคนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเด็กอย่างไร

ลองมาดูสาระสำคัญโดยสรุปของ พรบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อจะได้ช่วยกันดูแลเด็กๆเยาวชนของชาติให้อยู่รอดปลอดภัย ก่อนอื่นมาดูความหมายคำที่จะต้องเจอบ่อยๆ ว่าหมายถึงอะไร?

"เด็ก" หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกวาสิบแปดปบริบูรณแตไมรวมถึงผูที่ บรรลุนิติภาวะดวยการสมรส

“บิดามารดา” หมายความวา บิดามารดาของเด็กไมวาจะสมรสกันหรือไม่

“ผูปกครอง” หมายความวา บิดามารดา ผูอนุบาล ผูรับบุตรบุญธรรม และ ผูปกครองตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยและใหหมายความรวมถึงพอเลี้ยงแมเลี้ยง ผูปกครองสวัสดิภาพ นายจาง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไวในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยูด้วย

“การเลี้ยงดูโดยมิชอบ” หมายความวา การไมใหการอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่ง สอนหรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ําที่กําหนดในกฎกระทรวง จนนาจะเกิดอันตรายแกรางกาย หรือจิตใจของเด็ก

"ทารุณกรรม” หมายความวา การกระทําหรือละเวนการกระทําดวยประการใดๆ จนเปนเหตุใหเด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแกรางกายหรือจิตใจ การกระทําผิดทางเพศตอเด็ก การใชเด็กใหกระทําหรือประพฤติในลักษณะที่นาจะเปนอันตรายแกรางกายหรือจิตใจหรือ ขัดตอกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีทั้งนี้ไมวาเด็กจะยินยอมหรือไมก็ตาม

13.jpg

จากนั้นมาดูหน้าที่ของพ่อ-แม่ - ผู้ปกครอง ที่กำหมายกำหนดไว้ ดังนี้

มาตรา ๒๓ ผูปกครองตองใหการอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่ อยูในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแกขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแหงทองถิ่น แตทั้งนี้ตองไมต่ํากวามาตรฐานขั้นต่ําตามที่กําหนดในกฎกระทรวงและตองคุมครองสวัสดิ ภาพเด็กที่อยูในความปกครองดูแลของตนมิใหตกอยูในภาวะอันนาจะเกิดอันตรายแกรางกายหรือ จิตใจ

มาตรา ๒๖ ภายใตบังคับบทบัญญัติแหงกฎหมายอื่น ไมวาเด็กจะยินยอมหรือไมหามมิใหผูใดกระทําการ ดังตอไปนี้

(๑) กระทําหรือละเวนการกระทําอันเปนการทารุณกรรมตอรางกายหรือจิตใจของเด็ก

(๒) จงใจหรือละเลยไมใหสิ่งจําเปนแกการดํารงชีวิตหรือรักษาพยาบาลแกเด็กที่ อยูในความดูแลของตน จนนาจะเกิดอันตรายแกรางกายหรือจิตใจของเด็ก

(๓) บังคับ ขูเข็ญ ชักจูงสงเสริม หรือยินยอมใหเด็กประพฤติตนไมสมควรหรือ นาจะทําใหเด็กมีความประพฤติเสี่ยงตอการกระทําผิด

(๔) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพรดวยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็ก ใหแกบุคคลอื่นที่มิใชญาติของเด็ก เวนแตเปนการกระทําของทางราชการหรือไดรับอนุญาตจากทางราชการแลว

(๕) บังคับ ขูเข็ญ ชักจูงสงเสริม ยินยอม หรือกระทําดวยประการใดใหเด็กไป เปนขอทาน เด็กเรรอน หรือใชเด็กเปนเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทําผิด หรือกระทําดวย ประการใดอันเปนการแสวงหาประโยชนโดยมิชอบจากเด็ก

(๖) ใชจาง หรือวานเด็กใหทํางานหรือกระทําการอันอาจเปนอันตรายแกรางกาย หรือจิตใจมีผลกระทบตอการเจริญเติบโต หรือขัดขวางตอพัฒนาการของเด็ก

(๗) บังคับ ขูเข็ญ ใชชักจูง ยุยงสงเสริม หรือยินยอมใหเด็กเลนกีฬาหรือให กระทําการใดเพื่อแสวงหาประโยชนทางการคาอันมีลักษณะเปนการขัดขวางตอการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเปนการทารุณกรรมตอเด็ก

(๘) ใชหรือยินยอมใหเด็กเลนการพนันไมวาชนิดใดหรือเขาไปในสถานที่เลนการ พนัน สถานคาประเวณีหรือสถานที่ที่หามมิใหเด็กเขา

(๙) บังคับ ขูเข็ญ ใชชักจูง ยุยงสงเสริม หรือยินยอมใหเด็กแสดงหรือกระทําการ อันมีลักษณะลามกอนาจาร ไมวาจะเปนไปเพื่อใหไดมาซึ่งคาตอบแทนหรือเพื่อการใด

(๑๐) จําหนาย แลกเปลี่ยน หรือใหสุราหรือบุหรี่แกเด็ก เวนแตการปฏิบัติทางการแพทย

ผูใดฝาฝนมาตรา ๒๖ ตองระวางโทษจําคุกไมเกินสามเดือน หรือ ปรับไมเกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๒๗ หามมิใหผูใดโฆษณาหรือเผยแพรทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งขอมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผูปกครอง โดยเจตนาที่จะทําใหเกิดความเสียหายแก จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชนอื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชนสําหรับตนเองหรือผูอื่นโดยมิชอบ (ผูใดฝาฝน ตองระวางโทษจําคุกไมเกินหกเดือน หรือปรับไมเกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ)

มาตรา ๒๗ นี้ ต้องระวังให้มากโดยเฉพาะการโพสตฺ์ - แชร์ ภาพผ่านสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน อาจจะมีความผิดตาม พรบ.คุ้มครองเด็กได้โดยไม่รู้ตัว !!!!

12.jpg

มาตรา ๒๙ ผูใดพบเห็นเด็กตกอยูในสภาพจําตองไดรับการสงเคราะหหรือ คุมครองสวัสดิภาพตามหมวด ๓ และหมวด ๔ จะตองใหการชวยเหลือเบื้องตนและแจงตอพนักงานเจาหนาที่พนักงานฝายปกครองหรือตํารวจ หรือผูมีหนาที่คุมครองสวัสดิภาพเด็ก... โดยมิชักชา

การแจงหรือการรายงานตามมาตรานี้เมื่อไดกระทําโดยสุจริตยอมไดรับความคุมครองและไมตองรับผิดทั้งทางแพง ทางอาญาหรือทางปกครอง

มาตรา ๔๐ เด็กที่พึงไดรับการคุมครองสวัสดิภาพไดแก

(๑) เด็กที่ถูกทารุณกรรม

(๒) เด็กที่เสี่ยงตอการกระทําผิด

(๓) เด็กที่อยูในสภาพที่จําตองไดรับการคุมครองสวัสดิภาพตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๑ ผูใดพบเห็นหรือประสบพฤติการณที่นาเชื่อวามีการกระทําทารุณกรรมตอเด็กใหรีบแจงหรือรายงานตอพนักงานเจาหนาที่ พนักงานฝายปกครองหรือตํารวจ หรือผูมีหนาที่คุมครองสวัสดิภาพเด็ก

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกฎหมายคุ้มครองเด็ก ที่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งตัวเด็กและผู้ปกครองควรทราบ เพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องและเป็นการช่วยกันดูแลคุ้มครองเด็กๆอันเป็นอนาคตของชาติต่อไป...

****************

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • w-facebook
  • Twitter Clean
  • w-googleplus
  • W-Pinterest

© 2015 by สารเยาวชนและครอบครัว. Proudly created with Wix.com

bottom of page